ยินดีต้อนรับสู่บล็อก

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบทเรียนที่8  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนอผลงาน

 1.ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน  1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ  คิดว่าการนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือ ศึกษาในเรื่องนั้นๆ ก่อนจะนำมาเสนอในรูปแบบต่างๆ จะต้องอาศัยทั้งความรู้ตลอดจนทักษะของผู้เรียน และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ชม เข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ และเพื่อให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ  

1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ   1) การดึงดูดความสนใจ                     โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อ สายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของตัวอักษร รูปประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม          2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา                    ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้อง การสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า "A picture is worth a thousand words" หรือ "ภาพภาพหนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ"  แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถาม ให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไรและภาพที่เลือกมานั้น สามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่         3) จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของซอฟต์แวร์               ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถไม่เหมือนกัน ขนาดของโปรแกรมก็ไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตามโปรแกรมนั้นแตกต่างกัน ในคู่มือการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นจะบอกข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่ ต้องการสำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เราจะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตามข้อกำหนดนั้นเพื่อให้สามารถใช้งาน ซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่มีขายทั่วไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ที่อาจเลือกได้ตามความต้องการว่าเป็น เครื่องพิมพ์สีขาว/ดำ หรือหลายสี จอภาพจะใช้ขนาดใหญ่กี่นิ้ว หรือฮาร์ดดิสก์ที่อาจต้องดูขนาดความต้องการว่าซอฟต์แวร์มีขนาดเท่าใด และฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่ เพราะในไมโครคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องนั้นเรามักจะบรรจุโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ ไว้หลายชนิด และปริมาณแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมากจนกระทั่งพื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอ ต่อการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปใหม่นั้น           4 ) การใช้งานโปรแกรม               ในการใช้งานนั้น นอกาจากผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจการทำงานของฮาร์ดแวร์ว่าใช้งานอย่างไรแล้ว รายละเอียดการใช้งานซอฟต์แวร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน ส่วนใหญ่จะศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นเพื่อความเข้าใจในความ สามารถก่อน ปกติแล้วคู่มือการใช้งานมาจากเจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ซึ่งมักจะอธิบายถึงความสามารถตามฟังก์ชั่นที่มีอยู่ แต่มักจะไม่ค่อยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ผู้ใช้ต้องทดลองเอง จึงได้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในโปรแกรมนั้น ๆ ทำคู่มือการใช้งานในลักษณะการประยุกต์ มีตัวอย่างของงานแสดงให้เห็น ทำให้สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นและในปัจจุบันนี้มีการทำคู่มือการใช้งาน ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นซีดีการใช้งาน เป็นต้น ฉะนั้นผู้ใช้งานที่ยังไม่มีประสบการณ์จึงควรเรียนรู้จากคู่มือการใช้งาน ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 
1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไ
ตอบ  การนำเสนอผลงาน มี 2 รูปแบบ          การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้มีผู้ชมมีส่วนร่วม ผู้บรรยายสามารถปรับบรรยากาศให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้นได้          การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัย การมีส่วนรวมของผู้ชม สามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟังแต่ไม่สามารถปรับบรรยากาศให้ เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น 
1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ   สื่อนำเสนอ ที่สร้างไว้ ในหัวข้อนี้จะขอแบ่งเครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอไว้ 2 ยุคดังนี้          1. ก่อนยุคคอมพิวเตอร์ การนำเสนอมักจะใช้เครื่องมือ 2 ชนิดคือ                                1.1 เครื่องฉายสไลด์ (Slide projector) การใช้งานค่อนข้างจะยุ่งยาก เนื่องจาก ต้องใช้กล้องถ่ายรูปใส่ฟิล์มพิเศษที่ล้างออกมา แล้วเป็นภาพสำหรับฉายโดยเฉพาะและต้องนำ ฟิล์มมาตัดใส่กรอบพิเศษจึงนำมาเข้าเครื่องฉาย ได้ ข้อดี การฉายสไลด์จะได้ภาพที่สวยงาม และ ชัดเจน ข้อเสีย ต้องฉายในห้องที่ค่อนข้างมืด                                1.2 เครื่องฉายแผ่นใส (Overhead projector) 00 เป็นเครื่องที่ใช้งานทั่วไปได้มากกว่าแผ่นใสที่ใช้ ตามปกติจะมีขนาดประมาณ 8 นิ้วคูณ 10 นิ้ว และมี สองแบบคือ แบบที่ใช้ปากกา(พิเศษ)เขียน กับแบบ ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร           2. ยุคคอมพิวเตอร์ เมื่อมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบัน) เครื่องมือในการนำเสนอผลงาน ก็เปลี่ยนไป เครื่องมือหลักที่ใช้ก็คือ                                2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์                                2.2 เครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ (Data projector)                                2.3 เครื่องฉายภาพ 3 มิติ สรุปแนวคิดการออกแบบสื่อนำเสนอข้อมูล        หนึ่งความคิดต่อหนึ่งสไลด์ไม่นำแนวคิดหลายแนวมาใส่ในสไลด์เดียวในแต่ละสไลด์ ควรมีหัวเรื่องประกอบเนื้อหาในแต่ละสไลด์ ไม่ควรเกิน 7 – 8 บรรทัดเลือกใช้สีตัวอักษร สีภาพ และสีพื้นสไลด์ที่เหมาะสมข้อความภาษาอังกฤษ ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ผสมตัวพิมพ์เล็กจัดลำดับเนื้อหาให้เหมาะสม ตรวจสอบเนื้อหามีความถูกต้องเลือกใช้ Effect ที่เหมาะสมกับผู้ชม ผู้ฟังหลีกเลี่ยงการใช้สีแดง เขียว หรือเทาไม่ควรเลือก Effect มากกว่า 3 ลักษณะในแต่ละสไลด์ภาพที่นำมาใช้ประกอบ ควรเป็นแนวนอนจะเหมาะสมกว่าแนวตั้งเตรียมสื่อไว้หลากหลายรูปแบบควรระบุที่มา ของเอกสารอ้างอิงให้ชัดเจน
1.5 รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ   รูปแบบการนำเสนอ ปัจจุบันมี 3 รูปแบบ          1. การนำเสนอแบบ Slide Presentation มี 3 รูปแบบ             1.1 โดยใช้โปรแกรม PowerPoint  เป็นโปรเเกรมในการนํา เสนอได้ในหลายรูปเเบบ  ไม่ว่าจะเป็นนําเสนอ เเบบเป็นอักษร ภาพ หรือเสียง โดยตัวโปรเเกรมนั้นสามารถนําสื่อเหล่านี้มาผสมผสานได้ อย่าบงลงตัวเเละมีประสิทธิภาพมากที่สุด                ลักษณะการของโปรเเกรม Power Point   การทํางานในรูปของภาพนิ่ง (slide) คือเเผ่นเอกสารเดี่ยวๆที่เเสดงสิ่งต่าง ๆ ตัวอักษร กราฟตาราง รูปภาพ หรืออื่นๆ เเละสามารถเเสดงไลด์ลงบนแผ่นกระดาษหรือเครื่องฉานข้ามศีรษะ   หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์  หรือเครื่องฉาย             1.2 โดยใช้โปรแกรม ProShow Gold  คือ โปรแกรมสำหรับเรียงลำดับภาพเพื่อนำเสนอแบบมัลติมีเดีย ที่มีความสามารถสร้างผลงานได้ในระดับมืออาชีพ ด้วยเทคนิคพิเศษมากมาย ใช้งานง่าย เหมาะสมต่อการนำเสนอสื่อ การเรียนการสอน การแนะนำอัตชีวประวัติ สามารถเขียนชิ้นงานออกมาในรูปแบบของวีซีดีได้อย่างรวดเร็ว เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างแผ่นวีซีดีจากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทำงานได้รวดเร็ว โดยสามารถทำการใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย และสามารถแปลงไฟล์เป็นไฟล์ต่าง ๆ ได้ เช่น VCD ,DVD หรือ EXE ฯลฯ ภาพที่ได้จัดอยู่ในคุณภาพดี ซึ่งโปรแกรมอื่นจะใช้เวลาในการทำงานนานพอสมควร              1.3 โปรแกรม Flip Album เป็นโปรแกรมลักษณะโปรแกรม สำเร็จรูปโดยโปรแกรมที่นิยมสร้างอีบุ๊คหรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมาย คือ มีการชื่อมโยงกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้และมีบราวเซอร์ที่ทำ หน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ตามที่ต้องการเหมือนอินเตอร์เน็ตทั่วไป หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวและแบบทดสอบและสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่อง พิมพ์ได้และสามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา        2. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน( CAI =Computer Assisted Instruction) คือ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีหน้าที่เป็นสื่อการสอนเหมือนแผ่น สไลด์หรือวิดีทัศน์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายในเวลาจำกัดและตรงตามจุดประสงค์ของบทเรียนนั้นๆ โดยมีการใช้โปรแกรมที่นำมาสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2 รูปแบบ ได้แก่            2.1การใช้โปรแกรม Authorware เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่นิยมนำมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากที่สุด เพราะเนื่องจากว่าเข้าใจง่าย มีการเขียนโปรแกรมที่ใช้ง่าย            2.2การใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ Moodle(Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented  Dynamic Learning Environment) คือระบบการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือนเรียนในห้องเรียน หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษาหรือผู้สอน        3.รูปแบบ Social Network หมายถึง สังคมออนไลน์ที่จะช่วยหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ สามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมาและได้ทำความรู้จักกับเพื่อนๆคนอื่นๆ และยังสามารถแนะนำตัวเองได้ เช่น Hi5,Bkog,Facebook เป็นต้นและมีรูปแบบ Social Network 3รูปแบบ ได้แก่             3.1การใช้เว็บบล็อกเพื่อการเรียนการสอน  Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก             ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง              จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง                    3.2 การนำเสนอแบบ Web page หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอพเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น            3.3  Word press             Wordpress คือโปรแกรมชนิดหนึ่ง?ที่มีระบบในการช่วยจัดการเนื้อหาบนเว็บ ได้อย่างง่ายดาย หรือที่หลายๆ คนใช้คำว่า Contents Management System (CMS) ซึ่งจริงๆ แล้ว โปรแกรมประเภท CMS มีเยอะแยะ อย่างเช่น PHP Nuke, Joomla, Mambo, OScommerce, Magento เป็นต้น             Wordpress เป็น CMS ประเภท Blog ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยภาษา PHP และทำงานบนฐานข้อมูล MySQL ภายในสัญญาอนุญาตใช้งานแบบ?General Public License?(GNU) มีเวปไซต์หลักอยู่ที่ http://www.wordpress.org? และมี free hosting สำหรับขอรับบริการฟรีที่ http://www.wordpress.com              Wordpress เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย สำหรับคนที่ต้องการมีบล็อกส่วนตัว เป็นที่โปรแกรมที่นิยมกันทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยเราด้วยเ นอกจากการติดตั้งง่ายแล้ว Wordpress ยังมีข้อดีก็คือ เราสามารถหาดาวน์โหลดธีม (Themes) หรือหน้าตาของเว็บรูปแบบต่างๆ

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 7


1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท

ตอบ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

1.อินทราเน็ต(Intranet) เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เชื่อมต่อภายในตึกเดียวกัน
2.เอกซ์ทราเน็ต(Extranet)เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้

3.อินเทอร์เน็ต(Internet)เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ ทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้

2.อินทราเน็ต(Intranet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินทราเน็ต(Intranet)  หมายถึง เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เชื่อมต่อภายในตึกเดียวกัน

3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ   http://www.google.com

           http://www.altavista.com
         http://www.excite.com   เป็นต้น

4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ  พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง2-3คำลงไป แล้วกดแป้นEnter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บที่ค้นหา

5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  Digital library หมายความว่า ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ   http://www.school.net.th   
           http://www.learn.in.th   

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6

1.อินเทอร์เน็ต(Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ  ด้านการศึกษามีความสำคัญ ดังนี้
1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3.นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลือนไหวต่างๆ 
3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ   ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  ได้แก่
1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
2.ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบ
4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น
6.ใช้สื่อสารด้วยข้อความ
7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8.ซื้อขายสินค้าและบริการ

4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  คือการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนาล็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้
5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก เช่น เอกสารรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง เป็นต้น
6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
ตอบ   เช่น การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสิ่งที่ส่งอาจเป็นข้อมูล รูปภาพ เสียงไปถึงผู้รับ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ทำงานเข้าหากัน

2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  มีประโยชน์ในเรื่องของการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น
3.ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ   ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่ หมายถึง การเชื่อมต่อเครือข่ายในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน
4.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง การเชื่อมโยงต่อกันทั่วโลก
5.ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการ หมายถึง ระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน
6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประเภท คือ
1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
2.เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง
3.เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ  มีรูปแบบ คือ 1.เครือข่ายเชิงกายภาพ  2.เครือข่ายเชิงตรรกยะ

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน

2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ   มีประเภท คือ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ  2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
3.ซอฟต์แวร์ระบบ คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นแล้วแปลความหมายเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนหน้าจอ
4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่นงานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์ราบงาน วาดภาพ เล่นเกม ซึ่งเน้นการใช้งานอย่างสะดวก
5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คือ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงข้อมูล เป็นต้น
6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ ซอฟต์แวร์นั้นสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูล แปลความหมาย และทำการประมวลผลและส่งผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบสารสนเทศตามที่เราต้องการ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานตามที่เราต้องการได้
7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ   ซอฟต์แวร์จะเป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแปลภาษาโดยคำสั่งในระบบเลขฐานสอง
8.ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ   ระบบปฏิบัติการ คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์  ระบบปฏิบัติการใช้ในการบริหารข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3

1.คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ   คอมพิวเตอร์ คือ เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
         ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์  
1.มีความเร็วในการทำงาน
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้รวดเร็วและสะดวก
2.คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
ตอบ  เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนโดยการประดิษฐ์ลูกคิด ต่อมาชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.2185 และในปีพ.ศ.2376 ชาร์ล แบบเบจ ได้สร้างเครื่องคำนวณที่อาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลกจึงได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ   1.ฮาร์ดแวร์   2. ซอต์ฟแวร์  3.ข้อมูล  4.บุคลากร
4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ  ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด
ส่วนประกอบที่สำคัญคือ 1.ฮาร์ดแวร์   2. ซอต์ฟแวร์  3.ข้อมูล  4.บุคลากร

5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ตอบ  ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ 
1.ส่วนประมวณผล  2.ส่วนความจำ  3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก  4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล

6.ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ   CPU
7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม(RAM)และแบบรอม(ROM)ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  หน่วยความจำแรมเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลได้ชั่วคราวหากปิดเครื่องหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลก็จะลบหายไป  แต่หน่วยความจำรอมสามารถเก็บข้อมูลได้ถาวรซึ่งเป็นหน่วยความจำที่ไว้ใช้เก็บโปรแกรม
 8.จานบันทึกข้อมูล(Hard Disk)ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  จานบันทึกข้อมูลประกอบด้วย แผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่น และเครื่องขับจาน ทำหน้าที่หมุนจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวของแผ่น
9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์(Megabyte) กิกะไบต์(Gigabyte) พิกเซล(Pixel) จิกะเฮิร์ซ(GHz)
ตอบ  คือขนาดของการเก็บข้อมูล
10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาท์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ  จอภาพ ทำหน้าที่แสดงผล  แป้นพิมพ์ ทำหน้าที่รับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์   เมาท์ ทำหน้าที่ ในการควบคุมตัวชี้ที่ปรากฎบนจอภาพ ให้สามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งต่างๆที่ต้องการ

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 2

1.คำว่า”ระบบ” และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ    “ระบบ” หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆอย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอนระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานทุกประเภท
          “วิธีการเชิงระบบ” หมายถึง เป็นกระบวนการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
ตอบ   องค์ประกอบที่สำคัญมี 3 ประการ ได้แก่
          1.ปัจจัยนำเข้า (INPUT)
          2.กระบวนการ (PROCESS)
          3.ผลลัพธ์ (OUTPUT)
3.ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร
ตอบ  ระบบสารสนเทศ หมายถึง การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล
4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
ตอบ  องค์ประกอบหลักของสารสนเทศประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
         1.ระบบการคิด  กระบวนการในการจัดลำดับ จำแนก แจกแจง และจัดหมวดหมู่
         2.ระบบเครื่องมือ  เครื่องมือที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล รวบรวม และเผยแพร่
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
ตอบ  สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบไปด้วย   ข้อมูล(Data)  สารสนเทศ(Information) ความรู้(Knowledge)  ปัญญา(Wisdom)
       สารสนเทศด้านขั้นตอน  ประกอบไปด้วย   ข้อมูลนำเข้า(Input) กระบวนการ(Process)   และผลลัพธ์(Output)
       สารสนเทศทั่วไป  ประกอบไปด้วย  เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware)  ข้อมูล(Data)  สารสนเทศ(Information)  โปรแกรมหรือซอต์ฟแวร์(Software)  บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(Peopleware)
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ  โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ปัญหา ข้อมูล วิธีการ ทรัพยากรณ์ เพื่อแก้ปัญหาและประเมินผลลัพธ์ที่ได้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 3ขั้นตอน ดังนี้
1.การวิเคราะห์ระบบ
2.การสังเคราะห์ระบบ
3.การสร้างแบบจำลอง

7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   สารสนเทศระดับบุคคล =เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคล
           สารสนเทศระดับกลุ่ม =เสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้มีประสิทธิภาพ
         สารสนเทศระดับองค์กร =สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก
8.ข้อมูลและความรู้คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ   “ข้อมูล” หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
           “ความรู้” หมายถึง สภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน

9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีกี่ขั้นตอนอย่างไร
ตอบ    การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมี ขั้นตอน ดังนี้
            1.การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งกำเนิด
            2.การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล หมายถึง การเก็บรักษาข้อมูลให้ใช้ได้ตลอดเวลา
            3.การจัดการข้อมูล หมายถึง การสร้างระบบจัดการข้อมูลเป็นจำนวนมาก ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ     1.แลน(LAN) คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่น ภายในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น
             2.แวน(WAN) คือเครือข่ายบริเวณกว้างระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์   เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง   เครือข่ายสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
             3.อินเทอร์เน็ต(Internet) คือเครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมากซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก